สรุปพฤติกรรมนักท่องเที่ยวอเมริกัน ปี 2553
Travel Weekly – U.S. นำเสนอผลการสำรวจนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนทั่วไป (Leisure) ของสหรัฐฯจำนวน 2,524 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวโดยทั่วไปในปี 2553 สรุปได้ดังนี้
◊ นักท่องเที่ยวอเมริกันเดินทางโดยเฉลี่ยแล้วคนละ 4 ครั้ง และ ใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการท่องเที่ยวเฉลี่ยคนละ 3,500 เหรียญ ในปี 2553
◊ อุปสงค์ตลาด Leisure ของสหรัฐฯ ในปี 2554 มีแนวโน้มที่จะทรงตัว โดยจากการสำรวจพบว่า มีนักท่องเที่ยวเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น ที่คาดว่าจะเพิ่มการเดินทางท่องเที่ยวแบบพักค้าง และร้อยละ 14 คาดว่าจะลดการเดินทางลง สำหรับ
นักท่องเที่ยวที่มีรายได้ต่อครัวเรือนสูงกว่า 125,000 เหรียญ พบว่า ร้อยละ 20 มีแผนที่จะเพิ่มการเดินทางท่องเที่ยว ในขณะที่ มีเพียงร้อยละ 9 คาดว่าจะลดการเดินทางท่องเที่ยวลง
◊ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกสำหรับนักท่องเที่ยวที่ลดค่าใช้จ่ายด้านท่องเที่ยวลง และเป็นปัจจัยลบลำดับต้นๆที่ทำให้นักท่องเที่ยวที่มีรายได้ต่อครัวเรือนสูงกว่า 125,000 เหรียญ ลดการเดินทางลงนอกจากนี้ ยังส่งผลให้พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงในอีกหลายประเด็น อาทิ ร้อยละ 70 ของนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มจะลดการซื้อสินค้าและบริการที่มีราคาสูง หันมาซื้อสินค้าและบริการที่เป็นแบรนด์ทั่วๆไป (Generic brand) เพิ่มการใช้คูปองแลกซื้อสินค้า ฯลฯ
◊ กล่าวโดยสรุป ภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลให้ทัศนะ (mindset) ของนักท่องเที่ยวอเมริกันเปลี่ยนแปลงไป คือ นักท่องเที่ยวจะให้ความสำคัญกับ “คุณค่า – มูลค่า” มากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวจะมีการเปรียบเทียบและประเมินราคา/ความคุ้มค่าของการซื้อสินค้าและบริการจากธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ให้ “คุณค่า” และมีความ “คุ้มค่า” มากที่สุด แต่ที่สุดแล้ว นักท่องเที่ยวก็ยังแสวงหาสินค้าและบริการท่องเที่ยว ที่จะให้ประสบการณ์ที่เติมเต็มความสุขของตัวนักท่องเที่ยวเองและครอบครัวอยู่นั่นเอง
◊ จากการใช้ Statistical Cluster Technique สามารถแบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวตามทัศนคติออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่ม Sensational : ครองสัดส่วนร้อยละ 28 ของนักท่องเที่ยว Leisure ชาวอเมริกัน เป็นกลุ่มที่มีอายุน้อยที่สุดใน 4 กลุ่ม (อายุเฉลี่ย 40 ปี) ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวิชาชีพหรือพนักงานสำนักงาน ชอบทำกิจกรรมและเป็นสมาชิกคลับต่างๆ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีแนวโน้มชื่นชอบการท่องเที่ยวเพื่อร่วมกิจกรรม อาทิ กิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง สปา ฯลฯ และ การส่งข้อเสนอพิเศษโดยใช้ Flash email จะดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี
2. กลุ่ม Familias : ครองสัดส่วนร้อยละ 23 ของนักท่องเที่ยว Leisure ชาวอเมริกัน มีอายุเฉลี่ย 42 ปี เป็นกลุ่มครอบครัวที่มีลูกอายุต่ำกว่า 18 ปี โดยพ่อและแม่มีรายได้ทั้งคู่ ดังนั้น นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะซื้อแพคเกจทัวร์และเดินทางท่องเที่ยวเป็นครอบครัว สินค้ายอดนิยมของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ คือ สวนสนุก (Theme parks) เรือสำราญ (Cruise) และหาดทรายชายทะเล นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และเป็นกลุ่มที่ฉลาดเลือกด้วย
3. กลุ่ม Touristers : ครองสัดส่วนร้อยละ 23 ของนักท่องเที่ยว Leisure ชาวอเมริกัน มีอายุเฉลี่ย 47 ปี เป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ประกอบการมีแนวโน้มประสบความสำเร็จและมีความสุขในชีวิตแต่งงาน นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ มองการท่องเที่ยวเป็นการเรียนรู้ เป็นพวกที่ต้องการการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบไม่มีข้อผิดพลาด เดินทางท่องเที่ยวบ่อยครั้ง และจะใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากในการเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้ง รวมทั้ง ชื่นชอบที่จะเดินทางท่องเที่ยวเป็นครอบครัว และไปแหล่งท่องเที่ยวที่หรูหราสะดวกสบาย
4. กลุ่ม Extraordinaires : ครองสัดส่วนร้อยละ 26 ของนักท่องเที่ยว Leisure ชาวอเมริกัน มีอายุเฉลี่ย 52 ปี และมากกว่า 1 ใน 3 มีสถานะเป็นปู่ย่าตายาย นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่มีฐานะดี ไม่มีภาระใดๆเนื่องจากลูกๆมีงานทำและออกจากบ้านไปแล้ว การเดินทางท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ เป็นการท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ชอบชมพิพิธภัณฑ์และละคร นอกจากนี้ ยังนิยมที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรป และโปรดปรานที่จะพักในโรงแรม/รีสอร์ทแบบบูติคอย่างมากด้วย
สรุปสถานการณ์ธุรกิจบริษัทนำเที่ยวสหรัฐอเมริกา ปี 2553
Travel Weekly – U.S. นำเสนอผลการสำรวจบริษัทนำเที่ยวของสหรัฐฯจำนวน 2,200 บริษัท เกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจ ปี 2553 สรุปได้ดังนี้
◊ บริษัทนำเที่ยวที่มีอายุการดำเนินงาน 10 ปีหรือต่ำกว่านั้น มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด โดยเพิ่มจากร้อยละ 12 ในปี 2552 เป็น ร้อยละ 22 ในปี 2553 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 78 เป็นบริษัทที่เปิดดำเนินการมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี และกว่าครึ่งเป็นบริษัทที่มีอายุการดำเนินงานตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
สัดส่วนบริษัทนำเที่ยวแบ่งตามอายุการดำเนินงาน
◊ บริษัทนำเที่ยวขนาดเล็กยังคงเป็นบริษัทที่มีส่วนครองตลาดสูงที่สุด คือ
- ในปี 2553 ร้อยละ 75 ของบริษัทนำเที่ยวแบบที่มีที่ตั้งและหน้าร้านชัดเจน (Brick-and-Mortar agencies) มียอดขาย 5 ล้านเหรียญ หรือต่ำกว่า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปี 2552 (ร้อยละ 77) อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯน่าจะมีส่วนทำให้บริษัทนำเที่ยวที่มียอดขาย 1 ล้านเหรียญหรือต่ำกว่า เพิ่มสัดส่วนขึ้นอย่างชัดเจน คือ เพิ่มจากร้อยละ 29 ในปี 2552 เป็น ร้อยละ 35 ในปี 2553
สัดส่วนบริษัทนำเที่ยวแบบ brick-and-mortar แบ่งตามยอดขาย
- ในปี 2553 ร้อยละ 66 ของบริษัทนำเที่ยวแบบที่เปิดบ้านเป็นบริษัท (Home-based agencies) มียอดขาย 250,000 เหรียญหรือต่ำกว่า ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากในปี 2552 ประมาณร้อยละ 7 ในขณะที่ บริษัทนำเที่ยวที่มียอดขาย 2 ล้านเหรียญหรือสูงกว่านั้น มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 นอกจากนี้ ยอดขายเฉลี่ยของบริษัทนำเที่ยวรูปแบบนี้ยังลดลงถึงร้อยละ 11 จากปีที่ผ่านมา โดยในปี 2553 ยอดขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 330,000 เหรียญ
สัดส่วนบริษัทนำเที่ยวแบบ home-based แบ่งตามยอดขาย
◊ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทนำเที่ยวมีแนวโน้มที่จะขายการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2543 โดยในปี 2553 เกือบครึ่งของรายได้ของบริษัทนำเที่ยวมาจากการขายการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งในปี 2543 อยู่ในสัดส่วนเพียง 1 ใน 3 ของรายได้ของบริษัทเท่านั้น
นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่า รูปแบบและขนาดของบริษัทนำเที่ยวยังมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของรายได้ที่ได้จากการขายการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศ โดยบริษัทนำเที่ยวแบบ brick-and-mortar ที่มีขนาดใหญ่สามารถสร้างรายได้จากการขายการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศในสัดส่วนที่สูงกว่ารายได้จากการขายการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ส่วนบริษัทนำเที่ยวแบบ home-based ที่มีขนาดใหญ่จะได้รับรายได้จากการขายการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศสูงกว่าการขายการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศอย่างเห็นได้ชัด
โครงสร้างรายได้จากการขายการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศของบริษัทนำเที่ยว
แบ่งตามรูปแบบ และ ขนาดของบริษัท
สินค้าที่เสนอขาย | รวม | Brick-and-mortar agents | Home-based agents | |||||
ต่ำกว่า 1 ล้าน | 1 ล้าน-3 ล้าน | 3 ล้าน-10 ล้าน | 10 ล้านขึ้นไป | ต่ำกว่า 50,000 | 50,000-250,000 | 250,000 ขึ้นไป | ||
ในประเทศ | 51% | 53% | 48% | 47% | 52% | 67% | 45% | 40% |
ต่างประเทศ | 49% | 47% | 52% | 53% | 48% | 33% | 55% | 60% |
◊ บริษัทนำเที่ยวทั้งแบบ brick-and-mortar และแบบ home-based ได้รับรายได้จากนักท่องเที่ยวที่จัดการเดินทางเองและเดินทางคนเดียว (Individual Travelers) ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น แต่ได้รับรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มทัวร์ลดลง (Tours/packages) ในขณะที่สัดส่วนรายได้จากกลุ่มธุรกิจยังคงเท่าเดิม
โครงสร้างรายได้จากลูกค้า Individual Travelers, Tours/packages และ Affinity groups ของบริษัทนำเที่ยว แบ่งตามรูปแบบ และ ขนาดของบริษัท
กลุ่มตลาด | รวม | Brick-and-mortar agents | Home-based agents | |||||
ต่ำกว่า 1 ล้าน | 1 ล้าน-3 ล้าน | 3 ล้าน-10 ล้าน | 10 ล้านขึ้นไป | ต่ำกว่า 50,000 | 50,000-250,000 | 250,000 ขึ้นไป | ||
Individual Travelers | 46% | 44% | 42% | 41% | 47% | 53% | 44% | 47% |
Tours/packages | 36% | 37% | 40% | 40% | 33% | 30% | 37% | 34% |
Affinity groups | 18% | 18% | 17% | 19% | 20% | 17% | 19% | 20% |
◊ บริษัทนำเที่ยวยังคงได้รับรายได้จากการขายสินค้า cruise เป็นสัดส่วนที่สูงที่สุด คือ ร้อยละ 28 ในปี 2553 แม้จะลดลงจากที่เคยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 35 ในปี 2552 ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากระดับราคาที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ สินค้าที่สร้างรายได้ให้บริษัทนำเที่ยวในสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด คือ โรงแรม ที่ในปี 2553 ครองสัดส่วนร้อยละ 14 ของรายได้ เพิ่มจากร้อยละ 10 ในปี 2552
หากพิจารณาสัดส่วนรายได้ตามรูปแบบและขนาดของบริษัทนำเที่ยว พบว่า บริษัทนำเที่ยวแบบ brick-and-mortar ได้รับรายได้จากการขายบัตรโดยสารเครื่องบินในสัดส่วนที่สูงกว่าสินค้าประเภทอื่นๆและได้รับรายได้จากการขายบัตรโดยสารเครื่องบินในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่ บริษัทนำเที่ยวแบบ home-based ได้รับรายได้จากการขายสินค้า cruise ในสัดส่วนที่สูงที่สุด
โครงสร้างรายได้จากการขายสินค้าแต่ละประเภทของบริษัทนำเที่ยว แบ่งตามรูปแบบ และขนาดของบริษัท
ประเภทสินค้า |
รวม |
Brick-and-mortar agents | Home-based agents | |||||
ต่ำกว่า 1 ล้าน | 1 ล้าน-3 ล้าน | 3 ล้าน-10 ล้าน | 10 ล้านขึ้นไป | ต่ำกว่า 50,000 | 50,000-250,000 | 250,000 ขึ้นไป | ||
บัตรโดยสารเครื่องบิน | 25% | 27% | 27% | 30% | 36% | 25% | 16% | 17% |
Cruise จากสหรัฐฯ | 21% | 17% | 16% | 15% | 14% | 26% | 31% | 27% |
Cruise ต่างประเทศ | 8% | 7% | 9% | 9% | 8% | 4% | 9% | 13% |
บริการเช่ารถ | 5% | 5% | 5% | 5% | 6% | 5% | 3% | 3% |
โรงแรม | 14% | 17% | 13% | 11% | 16% | 19% | 12% | 14% |
รีสอร์ท | 13% | 13% | 14% | 12% | 6% | 12% | 16% | 12% |
ทัวร์ | 12% | 12% | 14% | 14% | 11% | 8% | 11% | 11% |
อื่นๆ | 3% | 3% | 3% | 3% | 3% | 1% | 2% | 2% |
◊ การสนับสนุนหรือความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดที่บริษัทนำเที่ยวต้องการได้รับจากเจ้าของสินค้า (Travel Suppliers) มากที่สุดในปี 2553 คือ e-mail special offers แทนที่ความต้องการเกี่ยวกับ Overrides/ Incentives ที่ตกลงมาเป็นอันดับที่ 2
รูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่บริษัทนำเที่ยวต้องการได้รับการสนับสนุน
รูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่ต้องการการสนับสนุน | สัดส่วนของบริษัทนำเที่ยว |
Email special offers | 47% |
Overrides/Incentives | 44% |
Fam trips | 41% |
Educational seminars | 41% |
Agency on supplier website | 30% |
Co-op marketing | 21% |
Consumer referrals | 20% |
Co-op advertising | 17% |
Trade publication offers | 11% |
Mail updates and offers | 11% |
Fax update offers | 5% |
◊ ช่องทางส่งเสริมการตลาดที่บริษัทนำเที่ยวเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของบริษัทมากที่สุดในปี 2553 คือ Email รองลงมาคือ เว็บไซต์ และ จดหมายข่าว ตามลำดับ
ช่องทางการส่งเสริมการตลาดที่บริษัทนำเที่ยวใช้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า
ช่องทางการส่งเสริมการตลาด | สัดส่วนของบริษัทนำเที่ยว |
85% | |
Agency website | 59% |
Newsletter | 32% |
Fliers | 26% |
Charity/community events | 22% |
Newspaper ads. | 16% |
Travel nights/coffees | 15% |
Telemarketing | 10% |
Radio ads. |
5% |
เรียบเรียง : ยลรวี สิทธิชัย